วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขนมถั่วแปบเป็นขนมพื้นบ้านที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี มีคุณค่า ทางโภชนาการสูง เพราะมีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ สำคัญที่มีโปรตีนสูง  มีแป้ง   มะพร้าว  งา และน้ำตาล ที่ ให้พลังงานสูง เหมาะที่จะเป็นอาหารยามว่างตอนบ่าย ของเด็ก ๆ   มีรสชาติเป็นที่ถูกใจ ถั่วเขียวเป็นธัญพืชที่ มีเส้นกากใยในตัว ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ   ส่วน งาที่ใช้ ให้ไขมันที่ประโยชน์ต่อเส้นผม ทำให้ผมดำ ขลับ เงางาม ไม่หงอกขาวง่าย ถ้ารับประทานกันเป็น ประจำ ถั่วแปบเป็นขนมไทยอีกชนิดหนึ่งที่ยังพอหา ทานได้ทั่วไป
สูตรขนมหวานไทย : ขนมถั่วแปบ
ขนมหวานไทย : ขนมถั่วแปบ
ขนมหวานไทย : ขนมถั่วแปบ
 






* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
* น้ำลอยดอกมะลิหรือน้ำใบเตยข้น 1/2 ถ้วยตวง
* เนื้อมะพร้าวขูด 1 ถ้วยตวง
* ถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลทราย 4 ช้อนโต๊ะ
* งาขาวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
* สีผสมอาหาร (สีตามความชอบ)
* เกลือป่น
      วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. เตรียมทำไส้ถั่วโดย นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปแช่ด้วยน้ำร้อนประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วจึงล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นนำไปนึ่งจนสุก พักทิ้งไว้ (แบ่งถั่วนึ่งออกเป็น สองส่วน ส่วนที่หนึ่งใช้ใส่ไส้ และส่วนที่สอง ใช้คลุกกับขนมที่ห่อไส้แล้ว)
2. นำมะพร้าวขูดไปผสมกับเกลือป่นเล็กน้อย และนำไปนึ่งในน้ำเดือดประมาณ 3 - 5 นาทีให้นุ่มจึงปิดไฟ พักไว้
3. นำแป้งข้าวเหนียวไปนวดกับน้ำลอยดอกมะลิ (หรือน้ำใบเตย)จนเนื้อเนียนเข้ากันทั่ว แบ่งเป็นสัดส่วนตามจำนวนสีที่ต้องการ จากนั้นจึง ใส่สีผสมอาหารลงไป (ควรใช้โทนอ่อนจะน่ารับประทานมากกว่าสีเข้ม ) แล้วจึงนวดอีกครั้งจนสีกับแป้งเข้ากันดี แบ่งปั้นเป็นก้อนกลม (เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว) แล้วกดให้แบน ระหว่างปั้นให้นำผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ มาคลุมไว้ก่อน

4. ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นใส่แป้งที่ปั้นไว้ลงไป เมื่อแป้งสุกจะลอยขึ้น ใช้ทัพพีที่มีรูตักออกมาจากหม้อ แล้วนำไปคลุกกับมะพร้าวขูดที่นึ่งเตรียมไว้ในขั้นตอนที่สอง จากนั้นจึงบีบแป้งให้แบน ใส่ไส้ถั่วลงไป พับครึ่ง กดปลายทั้งสองข้างให้สนิท แล้วนำไปคลุกกับมะพร้าวขูดและถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก (ส่วนที่เตรียมไว้สำหรับคลุก)
5. จัดใส่จาน โรยหน้าด้วยงาขาวคั่วและน้ำตาล พร้อมเสริฟเป็นของว่างได้ทันที





ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
" ข้าวนม " " เข้าหนม " " ข้าวหนม " ล้วนเป็นคำอันเป็นที่มาของคำว่า "ขนม" ซึ่งมีผู้สันทัดกรณีหลาย
ท่านตั้งข้อสันนิษฐานไว้ เริ่มตั้งแต่คำแรก "ข้าวนม" ที่นักคหกรรมศาสตร์หลายท่านบอกต่อ ๆ กันมา
ว่าน่าจะมาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมมีอิทธิพลมาจากอินเดียที่ใช้ข้าวกับนมเป็นส่วนผสมสำคัญที่สุด
ในการทำขนมแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากนมไม่มีบทบาทสำคัญในขนมไทยเลย ขนมไทยใช้
มะพร้าวหรือกะทิทำต่างหาก
สำหรับ "เข้าหนม" นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
 "หนม" เพี้ยนมาจาก "เข้าหนม" เนื่องจาก "หนม" นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมาย
ของ"ขนม" ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า "ข้าวหนม" แต่ถึงอย่างไรก็
ไม่พบความหมายของคำว่า "หนม" ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า "ขนม" อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า "หนม"
ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้ง
ทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า "ขนม" เพี้ยนมาจาก "ขนม"
ในภาษาเขมรก็เป็นได้
ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วย
ฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็น
ชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัย
เรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ
 บางฉบับกล่าวถึง "ย่านป่าขนม" หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง "บ้านหม้อ" ที่มีการปั้นหม้อ
 และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น
 คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด
ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อันถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย ดังที่จดหมายเหตุฝรั่งโบราณได้มีการบันทึกไว้ว่า
การทำขนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาว
โปรตุเกสอย่างท่านผู้หญิงวิชาเยนทร์หรือบรรดาศักดิ์ว่า ท้าวทองกีบม้า ผู้เป็นต้นเครื่องขนมหรือ
ของหวานในวัง ได้สอนให้สาวชาววังทำของหวานต่าง ๆ โดยเฉพาะได้นำไข่ขาวและไข่แดง
มาเป็นส่วนผสมสำคัญอย่างที่ทางโปรตุเกสทำกัน ขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นและยังเป็น
ที่นิยมจนถึงปัจจุบันก็ได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง และรวมไปถึง
 ขนมทองโปร่ง ขนมทองพลุ ขนมสำปันนี ขนมไข่เต่า ฯลฯ
ล่วงจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ผู้ทรงเป็น
พระเจ้าน้องยาเธอในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวไว้ว่าในงานสมโภช
พระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับ
พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ
 ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล
ในกาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้กล่าวชมเครื่องหวานหรือขนมไทยหลายชนิดด้วยกัน อาทิ
 ข้าวเหนียวสังขยา ขนมลำเจียก ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมผิง ขนมรังไร
 ขนมช่อม่วง ขนมบัวลอย ฯลฯ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่
 การทำขนมไทยก็เป็นหนึ่งในตำราอาหารไทยนั้น จึงนับได้ว่าการทำขนมไทยและวัฒนธรรม
ขนมไทย เริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างมีระบบระเบียบในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้เอง
แม่ครัวหัวป่าก์เป็นตำราอาหารไทยเล่มแรก ประพันธ์โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์
ในตำราอาหารไทยเล่มนี้ปรากฏรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระอันประกอบด้วย
 ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ข้าวเหนียวแก้ว
 ขนมลืมกลืน วุ้นผลมะปราง ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมทำขนมใช้ในงานบุญ
 ซึ่งก็เป็นแบบแผนต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
































ขนมถั่วแปบเป็นมิตรต่อสุขภาพ
          ขนมไทย มีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชาติ วัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติ ดังนั้นคุณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคงมีอยู่มาก จากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทย ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่ นอกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆ อย่างคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายรวมอีกด้วย อาทิเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เรตินอล แคโรทีน เป็นต้น ซึ่งคุณค่าอาหารรวมหมู่แบบนี้จะหาไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะเป็นการสกัดสารอย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆ เท่านั้น และในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหาทำยาได้อยากเช่นกัน
          นอกจากนี้ ด้วยความที่ขนมไทยยังไม่ได้ถูกครอบงำจากระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติ ทำให้ขนมไทยมีความปลอดภัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความปลอดภัยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม หน้าแรก ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพ ประโยชน์จากขนมไทยการเลือกรับประทานขนมไทย การกินแบบไทยๆ ขนมไทยในเทศกาลงานบุญ ขนมไทยในงานมงคล ขนมไทยแด่ผู้ยากไร้ ขนมไทยที่ใช้เป็นของขวัญ หรือ จีเอ็มโอ เพราะจากการตรวจสอบของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีช พบว่า มีขนมกรุบกรอบหรือขนมถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดบางยี่ห้อมีการใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ แม้จะยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่มีบทสรุปมาจนถึงทุกวันนี้ว่า คนที่กินอาหารจีเอ็มโอหรือมีส่วนผสมของอาหารจีเอ็มโอเข้าไปจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่อย่างไร แต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคก็ไม่ควรที่จะเสี่ยง


ถั่วแปบ